“คุณติ๊ก ปริยากร” เผยจุดเริ่มต้นแบรนด์บ้านเรา แฮปปี้ขยายโกอินเตอร์

“คุณติ๊ก ปริยากร” เผยจุดเริ่มต้นแบรนด์บ้านเรา แฮปปี้ขยายโกอินเตอร์

0

“คุณติ๊ก ปริยากร” เผยจุดเริ่มต้นแบรนด์บ้านเรา แฮปปี้ขยายโกอินเตอร์

       ถือเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่ประสบความสำเร็จกับการลงทุนทำธุรกิจในยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันค่อนข้างสูงกับแบรนด์บ้านเรา สำหรับ “คุณติ๊ก ปริยากร” ซึ่งเมื่อเจอเจ้าตัวก็ออกมาเผยจุดเริ่มต้นของแบรนด์ดังกล่าว และแพลนขยายตลาดโกอินเตอร์ ให้ฟังว่า

คุณติ๊ก ปริยากร มหกรรมคนสร้างสุข

      ตอนแรกประกอบธุรกิจค้าไม้ จากนั้นแล้วทำโรงงานเฟอร์นิเจอร์ แต่ว่าธุรกิจแบบนี้มันจะขึ้นอยู่กับอิทธิพลตอนนั้นเลยล้มละลาย หมดเงินไปประมาณ 15 ล้านบาท หลังจากนั้นก็พยายามหางานเพราะตอนนั้นต้องกลับมาอยู่บ้าน เลยได้ลงไปเป็นเถ้าแก่โรงไม้ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี พอกลับมาอยู่บ้านก็รู้สึกว่าเงินทุนมีน้อยเลยคิดว่าจะทำยังไงดีให้กลับมามีเงิน 15 ล้านบาทเหมือนเดิม ก็คิดว่าจะทำอะไรดี จังหวะนั้นกลับมาบ้านพอดีด้วย และก็เริ่มรู้สึกแล้วว่าควรจะทำอะไรสักอย่างเพื่อทดแทนคุณแผ่นดิน เพราะเริ่มคิดแล้วว่าชีวิตไม่มีอะไร ก็มองไปว่าถ้าเกิดได้ทำผ้าขาวม้ามันน่าจะเป็นอะไรที่ไม่ต้องใช้ทุนมาก สามารถซื้อไอดีผืนละ 100 กว่าบาท ซื้อหลายผืนก็ประมาณ 2,000 บาทได้ แล้วก็ไปจ้างเขาเย็บนิดหน่อย แล้วหาตลาดขาย ก็มีความคิดแบบนั้นมาตลอด สุดท้ายเลยกลายเป็นคนแปรรูปผ้าขาวม้า ทำเป็นแบรนด์บ้านเรา โดยใช้โลโก้บ้านเราเลย

          ซึ่งชีวิตครอบครัวตอนนั้นหลังจากที่ล้มละลายก็อยู่ไม่เป็นเลยทีเดียว ตอนนั้นเคยมีรถ ชีวิตดี มีลูกน้องมากมาย ชีวิตอยู่กับรถยนต์มาตลอด แต่ต้องเปลี่ยนมานั่งรถเมล์ จะต้องอึดอัดกับคนบนรถเมล์ แล้วต้องมารอมันอีก รู้สึกว่าตอนนั้นใช้ชีวิตไม่ได้เลย ก็เลยเพิ่งทางธรรม เข้าไปปฏิบัติธรรม ที่สวนโมกข์ และมาตั้งใจใหม่ในการทำงาน คือเอาหลักธรรมของธรรมะมาปฏิบัติใช้ในการทำงานด้วย โดย ณ ตอนนั้นคนรอบข้างก็ไม่มีเพราะว่าเหมือนหายตัวไปจากวงจรของสังคมของเพื่อน เพราะตอนนั้นเป็นเหมือนเถ้าแก่ เลยสร้างกำลังใจให้กับตัวเอง จะไม่โทรไปยืมตังค์เพื่อน ไม่บอกเพื่อนว่าเราอยู่ที่ไหน เหมือนเราสร้างความฝันและสร้างมโน ว่าฉันจะยืนใหม่ด้วยการเดินทางของฉัน ตอนนั้นคิดเลยว่าจะไม่ขายของในประเทศไทยเพราะคนไทยต้องแข่งขันกันเอง คิดว่าเราจะพยายามส่งออกให้ได้

คุณติ๊ก ปริยากร มหกรรมคนสร้างสุข

          และนั่นคือความตั้งใจของการยืนใหม่อีกครั้งหนึ่ง เลยกลับมาทำธุรกิจในเรื่องของผ้าขาวม้า เพราะว่ามันประกอบไปด้วยว่าถ้าเราประกอบกิจกรรมในการค้าไม้ต่อมันต้องใช้เงินเริ่มต้นในการทำประมาณ 3 ล้านบาท ซึ่งตอนนั้นที่ตัวมีอยู่ 3 บาท การทำผ้าข้าวม้าต้องใช้เงินประมาณ 300 เก็บทีละ 500 1,000 บาท เพื่อที่จะซื้อผ้าขาวม้าทีละผืน พอได้มาประมาณ 10 ผืนก็ไปให้เขาเย็บเป็นกระเป๋า แล้วจะเอาไปให้ในงานเกษียณ เขาก็เลยสั่งประมาณ 200  ตอนนั้นก็เลยเป็นจุดเริ่มต้นของเราเลย

         ธุรกิจในการค้าไม้กับธุรกิจในการทำผ้าขาวม้ามันแตกต่างกันในเรื่องของการจับเงิน อย่างการเป็นเจ้าของโรงไม้เราจะจับเงินทีละแสน ทีละล้าน สามารถใช้ลูกน้องได้หมด แต่ ณ วันนี้หลังจากที่เริ่มใหม่ มีความรู้สึกว่า คำว่าอดทนแบบมีขีดจำกัดเราเพิ่งรู้ว่าต้องอดทน มันทำให้เราอดทนได้ จัดการเก็บผ้าทีละผืน มันทำให้เรารักผ้านี้มาก คิดว่ากว่าจะเก็บมาได้กว่าจะทอมันขึ้นมาได้ต้องสะสม มันก็เลยกลายเป็นว่าจิตวิญญาณรักผ้าไปแล้ว ตอนนั้นมองว่าตัวเองเก่งอยู่อย่างหนึ่งคือ สะกดคำว่าท้อไม่เป็น ก็เลยไม่ได้มีความรู้สึกแม้แต่ชั่วโมงหนึ่งเลยว่าเราท้อ มีแต่พูดกับตัวเองว่าอดทนอีกนิด บางคนเขามองว่าเราทนเยอะแล้วนะ แต่เราก็บอกว่าความทนมันไม่มีลิมิต แต่ถ้าถามว่าเราเสียน้ำตาไหม ก็บอกได้เลยว่าเป็นปี๊บ ร้องจนร้องไม่ออก แต่นั่นแหละคือการที่เราจะประสบความสำเร็จแทบจะร้องไม่ออก การที่เราไม่ร้องมันเหมือนเป็นการบอกตัวเองว่าเราไม่ท้อแล้ว เราจะชนะแน่

           ถามต่อว่าทำไมต้องชื่อแบรนด์บ้านเรา คือชื่อแบรนด์บ้านเราตอนนั้นต้องการจะทำให้กับตัวจังหวัดของบ้านเรา ด้วยมีความรู้สึกว่าถ้าเราจะใหญ่อีกครั้งก็ต้องทำอะไรให้มันใหญ่ไปเลย ไม่ได้คิดว่าจะต้องใช้ชื่อเราหรือนามสกุล แต่ให้ใช้เป็นบ้านของเราไปเลย โดยที่มาของการตัดชุด คือ เราใช้การทอมือ เพราะฉะนั้นเส้นใยมาจะเป็นเส้นท่อก่อนที่จะเป็นผ้า ตอนนั้นก็บอกว่าเราสามารถทำอะไรที่แตกต่างออกไปได้ก็เลยกลายเป็นฝ้ายสับปะรด และมีผลวิจัยที่ดีออกมาด้วยว่าดูดสีได้ดี สามารถป้องกันแบคทีเรียได้ และมีงานวิจัยรับรองอยู่ด้วยว่าเป็นเส้นที่แข็งแรงที่สุดในบรรดาเส้นใหญ่

คุณติ๊ก ปริยากร มหกรรมคนสร้างสุข

           รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 3 แล้ว รุ่นแรกจะเป็นผ้าขาวม้าโทเร คำว่าโทเรเส้นใยของเขาจะถูกสังเคราะห์มาจากประเทศจีน แล้วเอามาย้อมสีในประเทศไทย จากนั้นรุ่นที่ 2 จะเป็นผ้าฝ้าย ผ้าฝ้ายเอามาย้อมสีให้เป็นธรรมชาติ ย้อมสีมังคุด ย้อมสีใบก้างปลา เสร็จแล้วเอามาทอ แต่คราวนี้มันกลายเป็นว่าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติมันรักษ์โลกแล้ว แต่พอมาถึงจุดหนึ่งคนเรามีความท้าทายที่อยากจะพัฒนา เราคิดว่าอยากจะทำอะไรที่มันดีไปมากกว่านี้ไหม แต่ 2 เวอร์ชั่นนี้เราก็ไม่ได้ทิ้ง เรารู้สึกว่าเราอยากเอาชนะ เหมือนเด็กที่อยากจะหาอะไรเล่นใหม่ๆ ตอนนั้นคิดว่าเสน่ห์ของแบรนด์บ้านเรา ชื่อมันก็บอกตรงตัวอยู่แล้วว่าประเทศไทยก็คือบ้านเรา ถ้าเราไปขายอยู่ที่ต่างประเทศเราก็สามารถพูดได้เลยว่าบ้านเราก็คือประเทศไทย เพราะฉะนั้นเสน่ห์มันก็อยู่ตรงที่ทำให้เรานึกคิดว่าเราจะทำแบรนด์นี้เพื่อบ้านเรา ทำให้รู้ว่าฉันเกิดที่นี่ ให้คนที่นี่เขาได้รู้จักเรา ตอนนั้นแบรนด์บ้านเรามันก็ซ้ำ เราก็เลยมีการห้อยสร้อยไปว่าสงขลา ก็เลยกลายเป็นว่าแบรนด์รักบ้านเราสงขลาไปอีก

          ถามต่อไปว่าสำหรับเราในฐานะผู้ประกอบการคิดว่าตอนนี้แบรนด์บ้านเราอยู่ในจุดไหน ก็มองว่าจุดของการเริ่มต้น เพราะคำว่าประสบความสำเร็จไม่มีหรอก ถ้าเมื่อไรที่เราพูดว่าประสบความสำเร็จมันจะทำให้เรารู้สึกหลงตัวเอง เราอยากที่จะพัฒนาต่อไปแบบที่ไม่มีสิ้นสุด เพราะถ้าเมื่อไรที่เรารู้สึกว่าเราประสบความสำเร็จเราจะหยุด ตอนนี้เลยคิดว่าเรายังต้องเดินต่อ

          ส่วนอุปสรรคตอนนั้นก็คือเงิน เพราะติดบูโร เราไม่สามารถกู้ธนาคารได้เพราะว่าธุรกิจเก่าของเราล้มละลาย ก็เลยต้องใช้เงินทุนแบบสะสม อย่างเวลาที่เขาสั่งเยอะเรายังไม่มีเงินทุนก็ต้องขอยืมคนโน้นคนนี้ ต้องมีความอดทนเพราะเราเป็นคนซื่อสัตย์ เวลาที่ใครมาว่าเราว่าผิดคำพูด เรารู้สึกแย่ แต่เราต้องก้าวพ้นคำว่าแย่ไปให้ได้ และอ่านตัวเองออกว่าเราไม่ใช่คนแบบนั้น อย่างเวลาโดนเหน็บแนมก็ต้องทน เพราะอย่างที่บอก เราไม่มีเงินทุน แต่ ณ วันนี้เราสามารถเข้าไปยืนในสังคมได้แล้ว

          ทั้งนี้แบรนด์บ้านเราก็โกอินเตอร์ไปประเทศเพื่อนบ้านแล้ว ก็คือแบรนด์ Ananas เป็นการแตกไลน์ออกไป เราก็ยังเป็นแบรนด์บ้านเราอยู่ มันทำให้เรารู้สึกว่าความฝันที่เราตั้งไว้ รู้สึกว่าเราดีใจแต่ไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองเก่งนะ แต่ดีใจที่เดินตามฝันตัวเองได้ และยิ่งรู้สึกดีใจและภูมิใจมากในการที่เราจะสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศชาติ ซึ่งในวันนี้การแข่งขันในบ้านเราค่อนข้างสูง ถ้าเป็นเราเราหนีในด้านของการใช้วัตถุดิบแล้ว อะไรที่เขาแข่งขันกันเยอะๆ เราก็ต้องคอยมองหาอะไรที่มันแตกต่าง ต้องใช้ปัญญาในการสร้าง ไม่ใช่ copy แล้วแตกต่าง ต้องเรียนรู้และหาอะไรใหม่ๆ ในสายงานของตัวเอง มองว่าทุกอย่างที่เราทำอยู่ตอนนี้ไม่ใช่ความเก่ง แต่เป็นสติปัญญา เราทำแบรนด์อันนี้ออกมาเป็นระยะเวลา 3 ปีแล้ว และแบรนด์ที่อยู่ต่างประเทศอีก 1 ปี อย่างล่าสุดเพิ่งมีการเข้าไปอบรมในเรือนจำ เราก็เป็นคนเข้าไปสอนเอง คนในเรือนจำเหมือนเป็นหัวใจหลักของเรา เขาอาจจะถูกมองว่าเป็นคนไร้ค่า แต่สำหรับเราคนในเรือนจำเรามองว่าเขาเป็นคนมีค่า และคนในเรือนจำเองเขาก็รู้สึกว่าเราเหมือนเข้าไปช่วยเขาด้วย ซึ่งค่าข้อต่อเส้นใยกิโลกรัมละ 600 แล้วเรามีความรู้สึกว่าเราช่วยเขาด้วย และคิดว่าเราก็จะทำกับเขาอยู่ต่อไปเรื่อยๆ

          โดยปีหน้าแบรนด์บ้านเราจะทำเรื่องของลายการพิมพ์ผ้า อาจจะเป็นรูปสับปะรด แต่เป็นลายไทย จะเปิดตัวปีหน้า เพื่อเป็นการรักษาลายไทยของบรรพบุรุษไว้ เพราะสมัยนี้เขาทำเป็นลายกราฟิกหมดแล้ว ซึ่งคนที่ทำให้เราก็เป็นคนทำงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยไอเดียนี้เราเป็นคนคิดเอง แล้วยิ่งถ้าเราส่งออกเขาจะได้เห็นถึงความเป็นไทยของเรามากยิ่งขึ้น เราจะไม่กลับไปใช้กราฟิกเพราะเราจะเน้นในเรื่องของความเป็นไทยอย่างเดียว

         วิธีการดูแลรักษาก็ง่ายมาก เอากลับมาซักเหมือนเดิมก็ใช้ได้แล้ว ซึ่งลักษณะพิเศษของเส้นใยสับปะรดสีเขาจะดูดแล้วดูดเลย ไม่มีสีตก พร้อมขอฝากให้คนรุ่นใหม่ อยากจะให้หันกลับมาชื่นชมในความเป็นไทย เราอยากให้เด็กๆ ไทยหรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่หันกลับมารักในสิ่งของความเป็นไทย ไม่ใช่ว่าเราจะไปเที่ยวเล่นแล้วเอาอริยธรรมเข้ามาทุกอย่าง

คุณติ๊ก ปริยากร มหกรรมคนสร้างสุข

          ส่วนใครที่สนใจอยากจะติดต่อแบรนด์บ้านเราก็ยอมรับว่าทุกวันนี้เราไม่ได้ขายในประเทศไทย แต่สำหรับใครที่สนใจก็สามารถตามได้ในช่องทาง Facebook ของเราเอง หรือทาง www.ananasthailand.com แต่เราจะไม่เน้นขาย เน้นให้เห็นการทำงานมากกว่า เพราะเราตัดสินใจไปแล้วว่าจะไม่ขายให้ในประเทศไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Comments