​​​​​​​ทีมแพทย์ศิริราช แถลง "น้ำตาล เดอะสตาร์" เป็นวัณโรคหลังโพรงจมูก 

​​​​​​​ทีมแพทย์ศิริราช แถลง "น้ำตาล เดอะสตาร์" เป็นวัณโรคหลังโพรงจมูก 

0

ทีมแพทย์ศิริราช แถลง "น้ำตาล เดอะสตาร์" เป็นวัณโรคหลังโพรงจมูก 

                วันนี้ (26 มิ.ย. 62) เมื่อเวลา 10.00 น. ศ.ดร.นพ. ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล รายงานผลการตรวจวินิจฉัยขึ้นเนื้อหลังโพรงจมูกของ “น้ำตาล บุตรศรัณย์ ทองชิว” โดยมี รศ.นพ.ปรัญญา สากิยลักษณ์ สาขาวิชาศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก ภาควิชาศัลยศาสตร์ ร่วมด้วย ณ ห้อง ประชุมอทิตยาทรกิติคุณ ตึกสยามินทร์ ชั้น 7 รพ.ศิริราช

น้ำตาล เดอะสตาร์ แพทย์ แถลง วัณโรค โพรงจมูก

อ่านข่าวต่อ

ครอบครัวสุดกลั้นน้ำตา ส่ง "น้ำตาล เดอะสตาร์" กลับสู่สวรรค์

                สืบเนื่องจากกรณีการเสียชีวิตของ “น้ำตาล บุตรศรัณย์ ทองชิว” เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2562 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลได้ขออนุญาตส่องกล้องเข้าไปดูบริเวณหลังโพรงจมูก และพบบริเวณเยื่อบุโพรงจมูกมีสีผิดปกติไปจากปกติ ขนาดประมาณ 0.5-1 ซม. จึงตัดชิ้นเนื้อบริเวณดังกล่าว เพื่อนำมาตรวจวินิจฉัยทางพยาธิวิทยาหาสาเหตุการเสียชีวิต ระหว่างตัดชิ้นเนื้อพบว่ามีเลือดไหลออกมา หลังจากย้อมชิ้นเนื้อ พบว่าเข้าได้กับวัณโรคแต่ไม่พบเชื้อ คณะฯ จึงได้ทำการตรวจอีกวิธีหนึ่งที่เรียกว่า PCR (Polymerase Chain Reaction) คือการตรวจหา DNA ของเชื้อวัณโรค ได้ผลเป็นบวก (positive) ผลการตรวจ PCR ดังกล่าว และผลการตรวจชิ้นเนื้อจึงบ่งชี้ว่ามีเชื้อวัณโรคหลังโพรงจมูก ซึ่งกรณีนี้มีโอกาสติดต่อกันได้น้อย

น้ำตาล เดอะสตาร์ แพทย์ แถลง วัณโรค โพรงจมูก

                จากสถิติของประเทศไทยในปี พ.ศ.2560 พบคนไทยเป็นวัณโรคประมาน 80,000 คน จากประชากร 69 ล้านคน โดยร้อยละ 83 จะตรวจพบที่ปอด ร้อยละ 17 ตรวจพบนอกปอด สำหรับวัณโรคหลังโพรงจมูกพบได้น้อยกว่าร้อยละ 1 ของวัณโรคที่พบนอกปอด อีกทั้งวัณโรคสามารถเป็นได้ตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย สำหรับวัณโรคหลังโพรงจมูกรายงานทางการแพทย์ทั่วโลกพบว่า ผู้ป่วย 1 ใน 3 อาจไม่มีอาการใดๆ และประมาณร้อยละ 70 มีต่อมน้ำเหลืองที่คอโต หรือมีก้อนบริเวณหลังโพรงจมูก การวินิจฉัยวัณโรคหลังโพรงจมูกจึงมักได้จากการตรวจชิ้นเนื้อที่ก้อนหรือต่อมน้ำเหลือง

น้ำตาล เดอะสตาร์ แพทย์ แถลง วัณโรค โพรงจมูก

ข้อแนะนำสำหรับประชาชนจากกรณีของ “น้ำตาล บุตรศรัณย์”
1. อุบัติการณ์ของวัณโรคในประเทศไทยยังไม่ลดลง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย และสามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายอวัยวะ
2. ควรตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี หากพบสิ่งผิดปกติใดๆ ต้องสืบค้นจนพบสาเหตุของความผิดปกตินั้น
3. แม้ตรวจร่างกายจะปกติ แต่หากมีอาการผิดปกติระยะเวลาหนึ่ง เช่น น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำๆ คลำได้ก้อนผิดปกติ ควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ

น้ำตาล เดอะสตาร์ 5 ป่วย เฝ้าระวัง เสียชีวิต

น้ำตาล เดอะสตาร์ 5 ป่วย เฝ้าระวัง เสียชีวิต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Comments