“มะปราง วิรากานต์” เปิดใจป่วยหัวใจทะลุ พร้อมเล่านาทีชีวิต แพนิค-ซึมเศร้า

“มะปราง วิรากานต์” เปิดใจป่วยหัวใจทะลุ พร้อมเล่านาทีชีวิต แพนิค-ซึมเศร้า

0

“มะปราง วิรากานต์” เปิดใจป่วยหัวใจทะลุ พร้อมเล่านาทีชีวิต แพนิค-ซึมเศร้า

           นางร้ายหน้าสวย “มะปราง วิรากานต์” ได้มาเปิดตัวครอบครัวครั้งแรก ควงคุณสามีนายตำรวจใหญ่ ดร.ชร พรประกฤต และลูกชาย น้องเชน วัย 1 ขวบ เล่าเรื่องอาการ “มาม่าบลู” หนักมากนานกว่า 8 เดือน พร้อมเปิดใจตรวจพบโรคหัวใจทะลุ มีอาการป่วยแพนิก-ซึมเศร้า ร่วมอีกด้วย ผ่านรายการ คุยแซ่บshow

มะปราง วิรากานต์

มะปราง วิรากานต์

           ตอนนั้นเป็นมาม่าบลูจนถึงลูก 8 เดือน เป็นแบบไม่รู้ว่าเป็น คิดว่าคนมีลูกจะนิ่งขึ้นจริง ๆ เปล่า หนูเป็นมาม่าบลูโดยที่ไม่รู้ว่าหนูเป็น ตอนไหนได้ศึกษาธรรมะ ดูจิต ดูกาย ดูใจ เราจะรู้ว่าเป็นประมาณไหน แต่พอหลังคลอดได้ชุดความรู้จากแม่และผู้ใหญ่ว่าเราจะเปลี่ยนไปนะ เราก็คิดว่าเราอาจจะเปลี่ยนไป สิ่งที่สังเกตชัดคือเรามีความคิดที่ดาร์กมาก ดาร์กแบบเราเห็นลูกประสบอุบัติเหตุตลอดเลย สมัยก่อนหนูเห็นลูกวิ่งอย่างนี้ไม่ได้เลย หนูรู้สึกว่าลูกถึงขั้นเจ็บ ถึงขั้นตายเลย เดินผ่านบันไดหนูรู้สึกว่าลูกจะตกลงไปตาย เราเห็นอาการตรงนี้น่าจะเป็นความผิดปกติของฮอร์โมน

มะปราง วิรากานต์

           ด้านเรื่องสุขภาพจริงๆ เป็นมาตลอดนะตั้งแต่ตอนถ่ายละคร แต่หนูแค่ไม่ได้ลงโซเชียล มันเป็นอาการที่เกิดขึ้นจากอารมณ์หมดเลย ถ้าโกรธมาก ๆ กระเพาะทะลุ, ลำไส้อักเสบ, ลำไส้แปรปรวน ที่มาเจอหลังแต่งงาน เพราะมีเวลาว่าง พอมันมีเวลาอาการมันออกมาเยอะ ที่ผ่านมาไม่เคยว่าง มันมีความคิดหนึ่ง ถ้าไม่ว่าง ไม่ป่วย ช่วงนั้นป่วยทุกโรคเลย ช่วงโควิดเจอว่ามีการติดเชื้อในกระเพาะอาหาร ต้องส่องกล้อง กินยาเป็นเดือน ๆ เลยกว่าจะหาย แล้วก็กรดไหลย้อน ตรวจเจอว่าหัวใจช่องล่างหนูผนังทะลุ ทุกอย่างมันเกิดจากอารมณ์หมดเลย เพราะเราเล่นละครแบบที่เราเป็นตัวละคร แล้วหนูก็เป็นตัวร้ายทั้งหมด หัวใจทะลุมันคือการเบิร์นเยอะเกินไป พวกนี้จะเป็นตั้งแต่กำเนิด แต่หนูดันเพิ่งเป็น

มะปราง วิรากานต์

มะปราง วิรากานต์

          ก็ต้องรักษาตามอาการ โชคดีไปเจอพระอาจารย์ ท่านแนะนำให้เรารู้จักวิธีเรียนรู้อารมณ์ปรางเป็นนักแสดง ตอนแรกก็บอกว่าหนูรู้จักอารมณ์ดีอยู่แล้ว จะให้ร้องไห้ตอนนี้หนูก็ทำได้ แต่จริง ๆ มันคือการรู้จักอารมณ์แบบไม่บิดเบี้ยว ปรางเป็นคนจิตดี ชอบเป็นคนดี ชอบให้คนรัก ก็เลยรู้สึกว่าต้องเป็นคนดีสิ แต่พอเป็นตัวร้ายไปนาน ๆ ความร้าย ความคิด อิจฉา มันเข้ามาในร่างกายแบบไม่รู้ตัว พอพวกนี้เกิดขึ้นความเป็นคนดีก็ปัดทิ้ง มันคือการไม่เรียนรู้อารมณ์แบบแท้จริง พอมันสะสมไปเรื่อย ๆ มันเลยกลายเป็นแพนิก ซึมเศร้า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Comments